วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ เเละข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาท ระเบียบ เเละข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

   1.  ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
    2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
    3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
    4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
    6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

สู้เพื่อเเม่



สู้เพื่อเเม่


ความรักของแม่นั้นยิ่งใหญ่เสมอสำหรับข้าพเจ้า ไม่มีใครในโลกนี้อีกแล้วที่จะรักเรายิ่งกว่าชีวิต รักชั่วนิรันดร์ และยอมทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อลูก ให้อภัยลูก แม้ว่าลูกจะทำผิดมาสักกี่ครั้งก็ตาม เป็นความรักที่อยู่เหนือกาลเวลา และเหนือเหตุผลอื่นใด

             แม่มีความรักให้ลูก มีเยื่อใยระหว่างแม่และลูกที่ไม่สามารถตัดขาดได้ แม่เป็นแม่ที่ดีของลูกอยู่เสมอ นับตั้งแต่ข้าพเจ้าจำความได้ ข้าพเจ้านับได้ไม่ถึงครั้งเลยด้วยซ้ำ กับการได้เห็นหน้าคนที่ขึ้นชื่อว่า "แม่" ตั้งแต่เล็กจนโต ข้าพเจ้าจะได้อยู่กับอา ปู่ และย่ามากที่สุด จนจะคิดว่าเขาเป็นพ่อ-แม่ เราอยู่แล้ว แต่จนมาวันหนึ่ง แม่ก็ได้มาเยี่ยมข้าพเจ้า มาถามว่าข้าพเจ้าอยู่นี่เป็นอย่างไร มีความสุขไหม แต่ข้าพเจ้าก็ตอบความเป็นจริง อย่างที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า สนุกและมีความสุขเมื่อได้มาอยู่ที่นี่ แต่รู้หรือไม่ว่า แม่ของข้าพเจ้า มาพร้อมกับใคร มากับคนที่จะขึ้นชื่อได้ว่าเป็น "พ่อ" หรือ "พ่อเลี้ยง" ของข้าพเจ้า และลูกคนใหม่ของเขา ที่จริงก็นับว่าเป็นน้องของข้าพเจ้าเช่นกัน เฮ้อ ! เหนื่อยใจกับชีวิตของข้าพเจ้าจริง…จริง

             นับตั้งแต่วันนั้นที่ข้าพเจ้าได้เจอกับแม่ ก็ทำให้ข้าพเจ้ามีคำถามคอยถามตัวเองมาตลอดว่า ทำไม…ทำไม แล้วก็ทำไม? เราถึงไม่มีครอบครัวที่อยู่กันอย่างมีความสุขและอบอุ่น ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาแบบคนอื่นบ้างนะ บางครั้งข้าพเจ้าก็รู้สึกน้อยใจที่แม่ของข้าพเจ้าแบ่งความรักที่เต็มร้อยให้กับน้องที่ข้าพเจ้าไม่มีความรู้สึกที่ว่าเขาเป็นน้องของข้าพเจ้าเลย และทุกครั้งที่แม่โอบกอดน้อง มันทำให้คิดถึงข้าพเจ้าตอนเด็ก ๆ ที่ไม่เคยมีแม่คนนี้มาโอบกอดเลย และทุกครั้งที่เห็นแม่และน้องไปเที่ยวด้วยกัน ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนว่าเป็นส่วนเกินของครอบครัวนี้ เป็นลูกนอกคอกที่ใครต่อใครไม่ต้องการ ข้าพเจ้าถามตัวเองตลอดเวลาว่า ข้าพเจ้าเป็นลูกเขาหรือเปล่า หรือเป็นลูกใครกันแน่

             มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มันทำให้ข้าพเจ้ารู้แน่ ๆ ว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่ลูกของเขา มันคือความคิดที่คิดในเวลานั้น เขายอมยกข้าพเจ้าให้กับอาเพียงแค่เงินไม่กี่บาท ข้าพเจ้าอยากถามทุกคนว่า นี้หรือความรัก ของแม่ที่มีให้ต่อลูก

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

                           เศรษฐกิจพอเพียง(ตาแดง)

                       

                                  ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=7ThJCrg3giE

ปลูกมะนาวไว้กินและแบ่งปัน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

                    

                            ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=wzkHwdcyufE

     โครงการ "ครึ่งไร่คลายจน" ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง -                                            Springnews

                   

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=gy5Qahx6IgI

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจผมเจ๋ง
ระวังสับสนกับ ทฤษฎีใหม่
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ [3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรนอกภาครัฐจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

หลักปรัชญา[แก้]

...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1]
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"[8]
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"[9] และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"[10]

การนำไปใช้[แก้]

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท[11]
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง

ซอฟต์เเวร์

ซอฟต์แวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษsoftware) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ประเภทของซอฟต์แวร์

หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี

ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ซอฟต์แวร์